ความรู้ในเรื่องอุบัติเหตุจราจรและการป้องกัน

Last updated: 17 มิ.ย. 2566  |  2776 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความรู้ในเรื่องอุบัติเหตุจราจรและการป้องกัน




ความรู้ในเรื่องอุบัติเหตุจราจรและการป้องกัน

อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เราป้องกันได้โดยการแก้ไขจากสาเหตุที่ทให้เกิดนั้นสำหรับการใช้รถใช้ ถนนแล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะตลอดจนสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นโดย ส่วนรวม ได้แก่

 1.) ผู้ขับขี่ขาดความรอบรู้ในการใช้รถใช้ถนน

2.)ประชาชนผู้เดินถนนขาดความรู้เกี่ยวกับการเดินถนนตลอดจนการโดยสารที่ปลอดภัย

3.) ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และขับรถอยู่บนความประมาทขาดความระมัดระวัง หรือขับรถ ในขณะมึนเมา ซึ่งอุบัติเหตุบนท้องถนนในปัจจุบันที่กำลังเพิ่มปริมาณขึ้นเกิดจากสาเหตุนี้โดยหลักใหญ่ ดังจะเห็นได้ว่ามีโครงการรณรงค์ไม่ให้ผู้ขับรถดื่มสุราหรือของมึนเมาขณะขับรถ

ความรู้ในการขับรถที่เสี่ยงต่ออันตราย หมายถึงการขับรถบนถนนที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เช่น ถนนลื่น ขึ้นลงเขาหรือขับรถทางไกล ซึ่งผู้ขับ ขี่ควรมีความรู้ต่าง ๆ ดังนี้

1.) ขับรถขณะฝนตกถนนลื่น ควรชะลอความเร็วรถให้ช้าลงกว่าปกติและทิ้งระยะห่างจากคันหน้า ให้มากขึ้น ถ้าขับรถอยู่บนทางที่ให้รถขับสวนกันก็ควรเปิดไฟหน้ารถเพื่อเตือนให้รถที่วิ่งสวนมามองเห็น เวลาจะหยุดรถควรใช้เกียร์ช่วยไม่ควรเหยียบเบรกโดยกระทันหันหรือหักพวงมาลัยรถอย่างฉับพลันเพราะ อาจท าให้รถปัดหรือหมุนได้

2.) การขับรถขึ้น-ลงเขาสูง เวลาขับรถขึ้นเขาควรใช้เกียร์ต่างที่มีกำลังพอเพราะถ้าเครื่องยนต์ไม่มี กำลังพอจะทำให้รถดับได้ถ้ารถดับและไหลลงจากขาต้องเหยียบเบรกและใช้เบรกมือช่วย ส่วนเวลาลงเขา ก็ควรใช้เกียร์ต่ าเช่นกันเพื่อฉุดก าลังไม่ให้ไหลเร็วจนเกินไป หรือคอยประคองรถด้วยการเหยียบเบรก ชะลอให้รถช้าพอที่จะบังคับได้

3.) การขับรถทางไกลในบางครั้งเมื่อมีความจำเป็นต้องขับรถเดินทางไกล ซึ่งอาจมีโอกาสประสบอุบัติเหตุได้ ดังนั้นผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตนดังนี้

ก. ตรวจสภาพและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนออกเดินทาง ดังนี้

- ตรวจช่วงล่างคันส่งคันชักพวงมาลัย

  • ตรวจยางทั้ง 4 ล้อ และยางอะไหล่ด้วย ยางไม่มีดอกควรเปลี่ยน น็อตล้อขันแน่นหรือไม่ วัดลมยางทั้ง 4 ล้อให้ได้ขนาดเหมาะสมกับรถ และควรมีที่วัดลมยางติดไปด้วย
  • - เตรียมแม่แรงประจำรถ เหลักขันแม่แรงและกุญแจขันแม่แรง พร้อมทั้งตรวจสอบว่าใช้การได้หรือไม่
  • - ตรวจระบบเบรกผ้าเบรก น้ำมันเบรก และตรวจเบรกมือว่าใช้การได้ดีหรือไม่
  • - ตรวจระบบเครื่องยนต์ ลองสตาร์ทเครื่องว่าเดินเรียบหรือไม่ ถ้าเครื่องเดินไม่เรียบอาจต้องเปลี่ยนหัว เทียนหรือทองขาว
  • - ตรวจดวงไฟหน้าทั้งสองดวง รวมถึงไฟทุกดวงของรถ ต้องสว่างเพียงพอและให้การได้ดีทุกดวง ปรับไฟ สูง
  • -ไฟต่างให้ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ถ้าหลอดขาวหรือฟิวส์ขาดให้เปลี่ยน
  • - ตรวจระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ น้ำในหม้อน้ำ (รังผึ้ง) ถ้าหม้อน้ำแห้งหรือทางเดินของน้ำหมุนเวียนอุดตันเครื่องยนต์จะร้อน สังเกตได้จากหน้าปัดวัดความร้อนอาจทำให้เสื้อสูบแตกหรือชาร์จละลาย
  • - ตรวจน้ำางกระจก ท่อฉีดน้ำกระจกต้องไม่อุดตัน ที่ปัดน้ำฝนยังใช้การได้ดี
  • - ตรวจน้ำมันเครื่องและไส้กรองน้ ามันเครื่องจะต้องเปลี่ยนทุก 5,000 - 10,000 กม. - ตรวจน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีเพียงพอหรือไม่ และไส้หม้อกรองน้ ามันเชื้อเพลิงต้องสะอาด ซึ่งจะต้องเปลี่ยน ทุก 10,000- 20,000กม.น้ำมันเชื้อเพลิงต้องเติมให้ค่าออกเทนตรงกับสภาพรถซึ่งสามารถ สอบถามได้ตาม สถานีบริการน้ำมันต่างๆ
  • - ตรวจระบบแตรว่าใช้การได้ดีหรือไม่
  • - ตรวจระบบแอร์ถ้าน้ำยาแอร์ไม่พอ แอร์จะไม่เย็น และให้ตรวจดูสายพานแอร์ว่า
  • - ตรวจการรั่วไหลของน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นต่าง ๆ
  • - นำรถไปอัดฉีดจาระบีล้อเติมน้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย  
  • ข. เตรียมอุปกรณ์และอะไหล่ที่จำเป็นระหว่างทาง คือ ฟิวส์ต่าง ๆ ของรถ หลอดไฟหน้า-หลัง แกลลอน หรือถังน้ำสำหรับเติมน้ำในหม้อน้ำแกลลอนน้ ามันเครื่อง น้ำมันเชื้อเพลิง ไฟฉายเครื่องดับเพลิงสำหรับ
  • รถ น้ ายาปะอุดยางพร้อม เติมลมได้ด้วย เชือกไนล่อนขนาดนิ้วก้อยยาวประมาณ 10 เมตร ส าหรับลากรถ เมื่อรถเสีย ชุดปฐมพยาบาลและไม้รองล้อทั้ง 4 ล้อ
  • ค.ก่อนขับรถทางไกล ผู้ขับขี่ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ง.การขับรถทางไกลในระยะเกินว่า 150 กม. ควรมีอีกคนคอยเปลี่ยนขับ
  • จ. งดเว้นการดื่มสุรา หรือของมึนเมาทุกชนิด ฉ.ถ้ามีฝนตกขณะเดินทาง น้ าโคลนกระเด็นเปื้อนไฟรถควรหยุดรถแล้วเช็ดให้สะอาด
  • ช. ถ้าน้ าในหม้อน้ าหมดระหว่างขับรถ เวลาเติมน้ าในหม้อน้ าควรใช้ความระมัดระวัง อย่าเอาหน้าเข้าใกล้ มาก เพราะน้ าจะดันฝาไอน้ าร้อนจะเข้าตาหรือถูกมือ และอย่าเติมน้ าทันทีต้องปล่อยให้เย็นเสียก่อน มิฉะนั้นฝาสูบหรือเสื้อสูบจะแตก
  • ซ. ควรศึกษาแผนที่คู่มือการท่องเที่ยว ถามผู้รู้เมื่อเกิดปัญหา
  • ฌ. ขับรถปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ดังนี้ o อย่าแซงรถในที่คับขัน ขณะขึ้นลงเขาสูง บนสะพาน ทางโค้ง ทางแยก ทางร่วม หรือจุดที่มีเส้นขาวทึบหรือเหลือทึบ o อย่าขับรถตามหลังรถคันอื่นในระยะทางกระชั้นชิด o อย่าขับรถแข่งกันด้วยความคึกคะนอง o อย่าขับรถเร็วเกินอัตราก าหนด o ควรให้สัญญาณก่อนหยุดรถ เลี้ยวรถ ขอทางแซง o รถที่ขับช้ากว่ารถคันอื่น ๆ ควรใช้ทางเดินรถด้านซ้าย o ทางเดินรถที่มีมากกว่า 1 ช่อง ให้ขับชิดช่องทางที่ 1 ชิดซ้ายมือ ยกเว้น จะแซงขึ้นหน้าหรือเลี้ยวขวา เมื่อแซงแล้วก็ให้กลับเข้าช่องทางที่ 1 o ขับรถส่วนกันควรใช้ไฟต่ า o เวลาขับรถผ่านทางแคบระหว่างภูเขา หรือระหว่างเนินควรชิดขอบ ทางซ้ายและเมื่อถึงทางโค้งควรส่งสัญญาณให้รถอื่นที่สวนมารู

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้