ถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ รถคันอื่น...ผิดไหม?

Last updated: 11 ก.ย. 2567  |  8271 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ รถคันอื่น...ผิดไหม?

ถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ รถคันอื่น...ผิดไหม?

           ในปัจจุบันเราควรใช้ “กล้องวงจรปิด (CCTV)” ในรถยนต์ หรือใช้ “โทรศัพท์” ไว้สำหรับถ่ายเหตุการณ์ต่างๆหรือไม่ เราคงตอบให้ไม่ได้เพราะสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคลว่าจะใช้เครื่องมือชนิดนี้เพื่ออะไร แต่สิ่งที่เราสามารถบอกได้คือ คุณประโยชน์ และจุดประสงค์อันแท้จริง รวมถึงความผิดเมื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด

        วัตถุประสงค์สำคัญของการติดตั้งกล้องวงจรปิดในรถ หรือใช้โทรศัพท์มือถือถ่าย คือใช้บันทึกเหตุการณ์สำคัญ ไม่ว่าในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิดเหตุการณ์ฉุกเฉินเฉพาะหน้า ที่ต้องการภาพมายืนยันในด้านความถูกต้องที่มีผลทางกฎหมายจราจร หรือแม้แต่มีไว้เพื่อบันทึกวิวทิวทัศน์ขณะขับรถท่องเที่ยวกับครอบครัวไปตามที่ต่างๆ การบันทึกภาพด้วยกล้องติดรถยนต์ยังช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าจะไม่ได้กลายเป็นเหยื่อของอาชญากรตามท้องถนน หรือเหยื่อของอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด รวมทั้งยังได้ช่วยเหลือให้ผู้ร่วมทางที่อาจตกเป็น “จำเลยสังคม” หรือชดใช้ในสิ่งที่เขาไม่ได้กระทำได้พลิกสถานการณ์เพราะมีภาพจากกล้องของคุณไปช่วยยืนยันก็เป็นได้

         ในแง่ของกฎหมาย คำอธิบายต่างๆไม่อาจเทียบได้กับหลักฐาน โดยเฉพาะหลักฐานที่เป็นภาพเคลื่อนขณะเกิดเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับคนหรือทรัพย์สิน ขับรถไปชนคนเดินเท้า ขับรถชนทรัพย์สินริมถนน หรือแม้กระทั่งขับชนรถยนต์ด้วยกันเอง กล้องติดรถยนต์จะช่วยเป็น “พยาน” และเป็น “หลักฐาน” สำคัญที่ทำให้สามารถรอดพ้นจากความผิดด้วยการขับรถโดยประมาทได้ "แต่" อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อเอาเปรียบผู้อื่น หลายคนใช้ประโยชน์จากการบันทึกภาพเพื่อบิดเบือนความผิดที่ตัวเองก่อ และโยนความผิดให้กับฝ่ายตรงข้ามอันนี้ถือเป็นการสร้างหลักฐานอันเป็นเท็จ มีความผิด ทว่าประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการเอาผิดกรณีการแอบถ่ายภาพ หรือว่านำเอาภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตไปลงเผยแพร่ในโลกออนไลน์ และยังมีหลายเหตุการณ์ที่ผู้ถ่ายตั้งใจจะ “ฟ้อง” กับสังคมเพราะคิดว่าตนเองเป็นฝ่ายถูก (ตามมุมมองและแง่คิดของตนเอง) แต่ปรากฏกระแสตีกลับรุมประณามเพราะเป็นฝ่ายผิดอยู่เห็นๆ

      ในมุมของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีการกำหนดไว้ว่าการเอาชื่อบุคคล หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่ได้ ส่วนในเรื่องความผิดทางแพ่งได้กำหนดว่า หากมีการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้ผู้อื่นเสียหายถึงชื่อเสียงหรือเกียรติยศร่างกายทรัพย์สิน ถือว่าเป็นความผิดซึ่งระบุไว้ในมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “เพราะฉะนั้นการเอารูปของบุคคลมาลงก็เข้าข่ายความผิด” เพราะทำให้คนในภาพเกิดความเสียหาย โดยผู้กระทำจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายเป็นการชดเชย นอกจากนี้ หากว่าตามประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ที่ระบุถึงการทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกกระทำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และมาตรา 328 ที่ว่าด้วยความผิดหมิ่นประมาทด้วยการเผยแพร่ภาพถ่าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท โดยโทษทั้งสองมาตราอาจจะมีกรณีทั้งจำทั้งปรับก็ได้

        อย่างไรก็ดี การเอาผิดทางอาญาต่อผู้กระทำต้องมีการแจ้งความซึ่งเสียหายจะต้องมีการแจ้งความซึ่งผู้เสียหายจะต้องมีการระบุผู้กระทำผิดอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่โดนแจ้งข้อกล่าวหาจะเป็นผู้ดูแลเพจหรือเว็บไซต์ที่นำเสนอเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้การกระทำดังกล่าวก็อาจจะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในมาตรา 14 ที่ระบุความผิดในฐานเผยแพร่ข้อมูลเท็จนั้นด้วยโดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       โปรดคิดไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนจะกดสิ่งใดที่หน้าจอโทรศัพท์เพราะเรื่องดีก็มี แต่เรื่องร้ายนั้นก็หนักไม่น้อย เอาเป็นว่าใช้เพื่อป้องกันตัวเองและเพื่อสิทธิของเราดีกว่าเอาไปละเมิดสิทธิคนอื่นนะ..

#ของแต่งรถนำเข้า #สำนักแต่งรถGodtowa #ของแต่งรถALPHARD #ของแต่งรถVELLFIRE #ของแต่งรถESTIMA #ของแต่งรถPRADO #ของแต่งรถHARRIER

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้